วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Other information in Songkhla






ข้อมูลอื่นๆ จังหวัด สงขลา

ที่ตั้งและขนาด 

          จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ตอนล่างระหว่างละติจูดที่ 617-756 เหนือ
          ลองจิจูด 100 01-101 06 ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 4 เมตร อยู่ห่างจาก
         กรุงเทพมหานคร ตามเส้นทางรถไฟ 947 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดิน 950 กิโลเมตร  
        จังหวัดสงขลา มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

     ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง
      ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
     ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี รัฐเคดาห์ และรัฐเปอร์ลิสของประเทศมาเลเซีย
      ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล

    ขนาดพื้นที่ จังหวัดสงขลามีขนาดพื้นที่ 7,393,889 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,853,249 ไร่ 
 มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 27 ของประเทศ และใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของภาคใต้
รองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช




ภูมิประเทศ / ภูมิอากาศ


จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านประจำทุกปีคือ
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคม
และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ

ฤดูร้อน
    เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่ว่างของลมมรสุมจะเริ่มตั้งแต่หลังจากหมดมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน แต่อากาศจะไม่ร้อนมากนักเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ทะเล


ฤดูฝน
    เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม จังหวัดสงขลาจะมีฝนตกทั้งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกชุกมากกว่า เนื่องจากพัดผ่านอ่าวไทย ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะถูกเทือกเขาบรรทัดปิดกั้นทำให้ฝนตกน้อยลง



การประกอบอาชีพภายในจังหวัดสงขลา

(การทำบ่อเลี้ยงกุ้ง)

การทำนากุ้ง  หรือ การเลี้ยงกุ้ง  เป็นหนึ่งอาชีพที่เป็นที่นิยมของชาวบ้านในพื้นที่
ของจังหวัดสงขลา



(การทำนา ปลูกข้าว)

การทำนา  90 % ของพื้นที่จังหวัดสงขลา  เป็นการปลูกข้าว  ทำนา  เป็นอาชีพหลัก
ซึ่งส่งต่อๆมาจากอดีตจนในปัจจุบันก็ยังเห็นอยู่มากมายหลายพื้นที่แถบชนบท



(การทำประมง)

ในพื้นที่จังหวัดสงขลา  ชุมชนที่ติดกับทะเล  จะมีการทำประมงกันเป็นหมู่บ้าน
ซึ่งเป็นเรื่องปกติของชาวใต้  ที่ใช้ชีวิตกับทะเล  อยู่กับแหล่งอาหารที่ธรรมชาติ
สร้างขึ้น  โดยชาวประมงจะจับปลามาขาย  จับกุ้ง ปลาหมึก  หอย  เพื่อส่งต่อๆมา
ให้กับคนบนชายฝั่งนำไปประกอบอาหาร  หรือส่งไปขายในห้างสรรพสินค้า  โรงงาน
หรือร้านอาหาร  เป็นต้น



(การกรีดยาง)

การกรีดยาง  จะเป็นอีกหนึ่งอาชีพของจังหวัดสงขลา  อยู่แถบอำเภอทางใต้ของจังหวัด
เช่น  เทพา  นาทวี  สะบ้าย้อย  สะเดา  ปาดังเบซาร์  เป็นต้น



การนับถือศาสนาในจังหวัดสงขลา

(การประชุมของศาสนาพุทธและอิสลาม)
ในจังหวัดสงขลาส่วนมาก  จะมีแค่ 2 ศาสนา หลักๆที่เห็นกันทั่วไป คือ
ศาสนาพุทธ  และ ศาสนาอิสลาม  ซึ่งอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข 

 


ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมจังหวัดสงขลา

สภาพเศรษฐกิจ โดยรวมของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 
โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือ การขยายตัวทางภาคการท่องเที่ยว การใช้จ่ายภาคเอกชน 
การลงทุนภาคเอกชน การส่งออก และการใช้จ่ายภาครัฐบาล 
ขณะเดียวกันภาคการเกษตรก็ได้รับผลดีจากยางพารา
ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ราคา ขยับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ซื้อในตลาดต่างประเทศ
มีการสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศจีน และมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนยางพารา
ของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ (ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย) 
เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคายางด้วยแนวทางการลดพื้นที่ปลูกยางพารา 
 และควบคุมปริมาณการส่งออกได้ผลักดันให้ราคายางพาราขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จนถึงสิ้นปี เเละรวมถึงการทำประมงที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน 
 จากปัจจัยทั้งหลายประการนี้ทำให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น


สภาพสังคม ทะเลสาบสงขลานับได้ว่าเป็นทะเลเเห่งชีวิตเเละวัฒนธรรม
ที่สะท้อนวีถีชีวิตความเป็นอยู่เเละวัฒนธรรมต่างๆของชุมชนบริเวณลุ่มน้ำได้เป็นอย่างดี
เเละเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญโดยเฉพาะทรัพยากรสัตว์น้ำที่ได้หล่อเลี้ยงชาวประมง
ในการประกอบอาชีพ ในอดีตสภาพสังคมโดยรวมในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลานั้น
ส่วนใหญ่เป็นสังคมชนบทที่มีวีถีในการดำเนินชีวิตเเบบเรียบง่าย
ประชาชนโดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมง เเละปศุสัตว์ เป็นต้น 
ยกเว้นในอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะของสังคมเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง 
มีชุมชนแออัดกระจายอยู่ทั่วไป 
เเต่ในปัจจุบันความต้องการการอุปโภคบริโภคเพิ่มมากขึ้นสภาพสังคมชุมชนใน
บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำได้เปลี่ยนแปลงไปคือมีความเจริญด้านวัตถุเพิ่มมากขึ้น 
ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต 
วิถีการดำเนินชีวิตในการประกอบอาชีพเปลี่ยนแปลงไป
ในปี 2546 ประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีจำนวน 1,581,043 คน 
โดยเป็นจำนวนประชากรจาก 3 จังหวัด คือ จังหวัดพัทลุงทั้งจังหวัด 
จังหวัดสงขลาจำนวน 12 อำเภอ และจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 อำเภอ





ที่มา : http://www.songkhla.go.th/location
ที่มา : http://www.songkhla.go.th/landscape
ที่มา : http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/general/economic_social.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น